Skip to main content

Posts

ปลากัดคอปเปอร์ ปลากัดสวยงาม เกล็ดเคลือบเงาวาววับ

ปลากัดคอปเปอร์ เป็นปลากัดสวยงามที่ได้รับความนิยมมายาวนาน ต่อเนื่อง และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จากอดีตจนถึงปัจจุบันเรียกได้ว่า ปลากัดคอปเปอร์ไม่เคยตกยุคเลย ... ปลากัดคอปเปอร์ เชื่อว่าสำหรับนักเลี้ยงปลากัดสวยงามแล้ว ต้องมีปลากัดคอปเปอร์ เลี้ยงติดบ้านไว้บ้างอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่น ชมความสวยงาม เป็นงานอดิเรก เลี้ยงเพื่อส่งประกวดปลากัดสวยงาม หรือเลี้ยงปลากัดคอปเปอร์ไว้เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ต่อยอดไปเรื่อยๆ เป็นต้น ชื่อก็บอกแล้วว่า "คอปเปอร์" ซึ่งเป็นชื่อเรียกทับศัพท์มาจากคำว่า "Copper" ซึ่งหมายถึง สีทองแดง นั่นคือปลากัดคอปเปอร์ จะเป็นปลากัดสวยงามที่มีลักษณะพิเศษที่เกล็ดมีความเงางาม เกล็ดมีสีเคลือบที่ลำตัว เดิมเริ่มต้นมาจาก เคลือบสีทองแดง แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาไปได้สีอีกมากมายหลายสี เช่น ปลากัดเรดคอปเปอร์ (สีแดง) Red Copper, ปลากัดแบล็คคอปเปอร์ (สีดำ) Black Copper, ปลากัดเยลโล่คอปเปอร์ (สีเหลือง) หรือ ปลากัดคอปเปอร์สีทอง Gold Copper เป็นต้น สรุปก็คือ ปลากัดคอปเปอร์ ก็คือ ปลากัดสวยงามที่มีลักษณะเกล็ดเคลือบเ

งานประกวดปลากัด 2563 จังหวัดระยอง ข้างสวนศรีเมือง..

ขอเชิญร่วมงานประกวดปลากัด 2563 จ.ระยอง ชิงถ้วยเกียรติยศ นายกเทศมนตรีนครระยอง และชิงเงินรางวัล ในงานประเพณีวันลอยกระทง วันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2563 ณ ตลาดเนินอุไร ข้างสวนศรีเมือง จังหวัดระยอง งานประกวดปลากัดสวยงาม 2563 จ.ระยอง แบ่งเป็น 3 ประเภท ทั้งหมด 15 รุ่น ดังนี้คือ ประเภทที่ 1. ประกวดปลากัดครีบสั้น มีทั้งหมด 7 รุ่น (ขนาดปลากัด วัดจากปากถึงโคนหาง 1.5 นิ้วขึ้นไป) ปลากัดครีบสั้น หางเดี่ยว สีเดี่ยว รวมทุกประเภทสี ปลากัดครีบสั้น หางเดี่ยวแฟนซี ปลากัดครีบสั้น หางพระจันทร์ครึ่งดวง สีเดี่ยว รวมทุกประเภทสี ปลากัดครีบสั้น หางพระจันทร์ครึ่งดวง กลุ่มหลากสี (แฟนซี AOC) ปลากัดครีบสั้น หางพระจันทร์ครึ่งดวง กลุ่ม 3 สีขึ้นไป เช่น ปลากัดนีโม่, มรกต, ห้าสี, เอเมร่อน Koi และ Koi แกแล็คซี่ ปลากัดครีบสั้น หางคู่ รวมทุกประเภทสี ปลากัดครีบสั้น คราวเทล CTPK ประเภทที่ 2. ประกวดปลากัดครีบยาว มีทั้งหมด 4 รุ่น (ขนาดปลากัด วัดจากปากถึงโคนหาง 1.2 นิ้วขึ้นไป)

รายชื่อปลากัดป่าในประเทศไทย ปลากัดทั่วโลก มีกี่ชนิด?

"ปลากัดป่า" คือชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มปลากัดพันธุ์พื้นเมืองของไทย ซึ่งหมายถึงปลากัดที่พบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทย ดังนั้น คำว่า "ป่า" ที่ต่อท้ายชื่อปลากัดจึงเป็นคำที่บ่งบอกว่าเป็นปลากัด "พันธุ์ป่า" หรือ "พันธุ์แท้" ที่มีต้นกำเนิดจากธรรมชาติจริงๆ ทั้งลักษณะรูปร่าง ลวดลาย สีสัน และพฤติกรรมต่างๆ ล้วนเกิดจากวิวัฒนาการตามธรรมชาติ ที่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติมายาวนาน เพื่อให้ปลากัดป่าแต่ละชนิดมีลักษณะที่เหมาะสมลงตัวที่สุด มีเท่าที่จำเป็น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป พอดีและดีพอ สำหรับการดำรงชีวิต สืบพันธุ์ และเอาตัวรอดได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่อาศัย นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมปลากัดในแต่ละแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน จึงมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน เป็นความหลากหลายของปลากัดป่าชนิดต่างๆ นั่นเอง การจำแนกทางอนุกรมวิธานของปลากัดป่า Kingdom: Animalia Phylum: Chordata Superclass: Osteichthyes Class: Actinopterygii Subclass: Neopterygii Infraclass: Teleostei Superorder: Acanthopterygii

ปลากัดป่า'นูลูฮอน' Betta nuluhon ปลากัดชนิดใหม่ 2020..

จากเดิม จำนวนชนิดของปลากัดป่าจากทั่วโลก มีทั้งหมด 74 ชนิด ล่าสุดมีการค้นพบปลากัดป่าชนิดใหม่ล่าสุดของโลก จากมาเลเซีย ทำให้ปัจจุบัน (2020) มี จำนวนรายชื่อปลากัดป่าจากทั่วโลกทั้งหมด 75 ชนิด ปลากัดชนิดใหม่นี้มีชื่อว่า ปลากัดป่า 'นูลูฮอน' เป็นปลากัดป่าชนิดใหม่ ที่เพิ่งได้รับการบรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธาน ตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่ ไปเมื่อ 22 ก.ค. 2020 ที่ผ่านมานี้เอง โดยค้นพบจากแหล่งที่อยู่อาศัยในลำธารบนภูเขาทางตะวันตกของซาบะฮ์ (Sabah) ประเทศมาเลเซีย และถือว่าเป็นปลากัดป่าเฉพาะถิ่น (Endemic) คือในโลกนี้พบแหล่งอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซียเท่านั้น ปลากัดป่านูลูฮอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Betta nuluhon  Kamal, Tan & Ng, 2020 อยู่ในวงศ์ Osphronemidae) คำระบุชนิด นูลูฮอน ' nuluhon ' มาจากคำภาษาชนเผ่า Kadazandusun แปลว่า 'ภูเขา' ซึ่งหมายถึงแหล่งที่พบในลำธารบนภูเขา ซึ่งเป็นสถานที่พบตัวอย่าง แหล่งที่อยู่อาศัยของปลากัดป่านูลูฮอน พบในลำธารน้ำตื้น ค่าออกซิเจน 6.25 mg /L , ค่า pH 6.57, ของแข็งแขวนลอย 0.4 mg /L, ความขุ่น 28.0 FAU, อุณหภูมิน้ำ 24.0° C ปลากัดป่านูลูฮอน Betta nuluh

วิธีเพาะปลากัด ให้ได้เยอะๆ ทำยังไง? แบบง่าย ได้ผลจริง..

เทคนิค เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีเพาะปลากัดให้ได้เยอะๆ ลูกปลากัดรอดเยอะ แบบง่าย ได้ผล การคัดเลือกปลากัดตัวผู้/ตัวเมีย การเทียบคู่ปลากัด วิธีผสมพันธุ์ปลากัด .. วิธีเพาะปลากัดให้ได้เยอะๆ ลูกปลารอดเยอะ แบบง่ายๆแต่ได้ผล จะต้องเกิดจากความพร้อมหลายๆด้าน ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือ การคัดเลือกพ่อแม่ปลากัดที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีความพร้อมในการผสมพันธุ์ เพราะหากพ่อแม่ปลายังไม่พร้อม แม้ว่าจะเพาะได้ก็จริง แต่จะได้น้อยกว่า การใช้พ่อแม่ปลากัดที่พร้อมกว่า ไหนๆ ก็ต้องเพาะปลากัดแล้ว ต้องเสียเวลาดูแลเหมือนกันอยู่แล้ว ก็ทำให้ดีไปเลยดีกว่า กรณีนี้รวมไปถึงการเพาะปลากัดสวยงามทุกสายพันธุ์ไปเลยนะ ถ้าเราเลือกได้แล้วว่า เราชอบปลากัดพันธุ์นี้ หรืออยากเพาะปลากัดพันธุ์นี้ ก็ต้องเริ่มต้นจากการคัดเลือกพ่อแม่ปลากัดที่ดี การคัดเลือกพ่อและแม่ปลากัดที่สมบูรณ์ การคัดเลือกพ่อแม่ปลากัดที่สมบูรณ์ คือควรเป็นปลากัดที่โตเต็มวัย (อย่างน้อยควรมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป) มีความสมบูรณ์ แข็งแรง โครงสร้างดี ครีบทุกครีบครบสมบูรณ์สวยงาม ไม่บิดเบี้ยวคดงอ ไม่ขาดแหว่ง เกล็ดมีความเงาวับ ปลามีความคึกคัก ว่ายน้ำดี ทรงตัวดี ไม่มีร่องรอยการป่วยเป็นโรค ปลาไม่ซึม โดยเ

*วิธีเพาะเลี้ยงโรติเฟอร์ อาหารสดมีชีวิต อนุบาลลูกปลากัด..

วิธีเพาะเลี้ยงโรติเฟอร์ แพลงก์ตอนสัตว์ อาหารสดมีชีวิต อนุบาลลูกปลากัด โปรตีนสูง อาหารโรติเฟอร์ แหล่งที่อยู่อาศัย วงจรชีวิต การแพร่ขยายพันธุ์ โรติเฟอร์ เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมาก นิยมนำมาให้สัตว์น้ำวัยอ่อนกินเป็นอาหาร ซึ่งสามารถนำมาใช้เลี้ยงอนุบาลลูกปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะไรติเฟอร์มีขนาดเล็กพอดี พอเหมาะที่ลูกปลากัดจะกินได้ สำหรับตัวโรติเฟอร์เองนั้น กินแพลงก์ตอน พืชที่มีสีเขียว เป็นอาหาร โดยส่วนมากมีทั้งโรติเฟอร์น้ำจืด และโรติเฟอร์น้ำเค็ม ซึ่งอยู่ในสกุล Brachionus วงศ์ Brachionidae จากการศึกษาพบว่า มีโรติเฟอร์แพร่กระจายอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งในโลก ทั้งนี้เป็นเพราะโรติเฟอร์มีการปรับตัวหรือมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปได้ตามฤดูกาลได้ เรียกว่า ไซโคลมอร์โฟซีส (cyclomorphosis) การปรับตัวของโรติเฟอร์ กระทำได้โดยการปรับน้ำหนักให้ลดลง ปรับตัวให้มีระยางค์ที่ช่วยในการลอยตัวและว่ายน้ำ มีการปรับตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ไข่จม โดยไข่จะติดกับตัวแม่ โรติเฟอร์ นอกจากอาศัยอยู่ในน้ำ โดยแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ทุกระดับความลึกของน้ำแล้ว ยังสามารถอาศัยอยู่บนพืช

โรคปลากัด มีอะไรบ้าง วิธีการรักษา อาการปลากัดป่วย ?..

โรคปลากัด มีอะไรบ้าง สาเหตุโรค และ วิธีการรักษา อาการปลากัดป่วย ยารักษาโรคปลากัดป่วย การเพาะเลี้ยงปลากัด และขยายพันธุ์ปลากัดให้มีอัตราการเกิดและอัตราการรอดชีวิตมาก เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะส่งผลต่อการทำธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงปลากัดให้ได้กำไรและประสบความสำเร็จ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีอัตราการเกิดและอัตราการรอดชีวิตของปลากัดมากหรือน้อย นอกจากการคัดเลือกพันธุ์ การเพาะฟัก การเลี้ยงดูแลอย่างดีแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการป้องกันโรคและการดูแลรักษาโรคปลากัดด้วย ถ้าหากปลากัดมีอาการป่วยเป็นโรค ต้องสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของโรคได้ รู้จักชนิดของโรค และแนวทางในการรักษาโรคได้ สาเหตุของโรคปลากัด เกิดจากอะไรบ้าง? สำหรับปลากัดที่เลี้ยงอย่างถูกวิธี มักจะมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่ตรงกันข้าม ถ้าสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของปลากัด จะส่งผลทำให้ปลากัดเป็นโรคได้ง่าย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคปลากัด มักจะเกิดจากหลายสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ น้ำสกปรก ไม่ค่อยเปลี่ยนน้ำ เนื่องจากน้ำมีของเสีย ขี้ปลา และเศษอาหารบูดเน่าตกค้างอยู่ก้นบ่อ อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปล